Tuesday, July 27, 2010

งานแห่เทียนเข้าพรรษาที่อุบลราชธานี


   จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 กรกฎาคม 2553 ณ ทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี  งานนี้เป็นการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นจัดให้เป็น"แหล่งท่องเที่ยว" ของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นจังหวัดต้นแบบในการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาที่ยิ่งใหญ่และได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากทุกปี ด้วยเหตุผลทางภูมิศาสตร์อันเหมาะสมต่อการดำรงชีพ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน ผนวกกับความเก่าแก่ที่มี ประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี ของจังหวัดอุบลราชธานี จึงก่อเกิดเป็นมรดกทางอารยธรรม และวิถีวัฒนธรรมที่ละเอียดอ่อนงดงามควบคู่มากับความศรัทธาในพระพุทธศาสนา งานประเพณีแห่เทียนพรรษา ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งของบุญเข้าพรรษา ซึ่งถือเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่อีกประเพณีหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน ฤดูกาลปักดำ พระภิกษุสงฆ์จำวัดปฏิบัติธรรมตลอดสามเดือน ชาวบ้านจะนำเทียนเล่มเล็กที่ฟั่นจากขี้ผึ้งมามัดรวมกัน แล้วจัดขบวนแห่เข้าถวายวัดต่างๆ เพื่อเป็นพุทธบูชา ก่อนที่ผู้ทรงศีลจะได้นำเทียนไปจุดเป็นแสงสว่างสำหรับการปฏิบัติกิจของสงฆ์ และการร่ำเรียนท่องอ่านตำรา ต่อมาได้มีการปรับประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงได้คิดค้นรูปแบบ และวิธีการเพื่อให้เทียนพรรษามีความงดงามสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงได้เกิดวิธีการเทเทียน หลอมเป็นแท่งแล้วแกะสลักด้วยลวดลายไทยอย่างประณีตอันสวยงามเป็นเอกลักษณ์ และวิธีการติดพิมพ์โดยจัดประดับตกแต่งอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา มีขบวนแห่ฟ้อนร่ายรำ การแสดงพื้นบ้านแบบประเพณีดั้งเดิมของชาวอีสาน สร้างความสนุกสนานครื้นเครงแก่ผู้พบเห็นและนักท่องเที่ยว การ"ท่องเที่ยว"แห่งประเทศไทยได้เข้ามาสนับสนุนบรรจุอยู่ในโปรแกรม"ท่องเที่ยว"ระดับชาติ ส่งผลให้ชื่อเสียงของงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี โด่งดังไปทั่วโลกตราบจนเท่าทุกวันนี้ ภาพที่ประทับใจ


นี่คือรูปนักท่องเที่ยวที่เข้าชมงานแห่เทียนพรรษา

                                                            

                                              
                                                              
      
                                                            



                                                            
                                              รูปถ่ายล่าสุด 26/07/2553

Monday, July 5, 2010

ประติมากรรมเทียนนนานาชาติ ครั้งที่ 5


พิธีเปิดอย่างเป็นทางการ งานแสดงประติมากรรมเทียนนานาชาติ ครั้งที่ 5 ในงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2553  จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ในวันที่ 1 กรกฏาคม 2553  ณ บริเวณถนนอุปราช หน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม  โดยมีนายวิชิต  ชาตไพสิฐ  รักษาการผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวต้อนรับ ศิลปินทั้ง 10 ชาติ รวมทั้งแขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมพิธี   และนายอักกพล  พฤกษะวัน  ที่ปรึกษาระดับ 11 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)  เป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่  1 กรกฏาคม 2553  เวลา 19.00 น.  นายอักกพล  พฤกษะวัน  ที่ปรึกษาระดับ 11 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)   เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิด งานแสดงประติมากรรมเทียนนานาชาติ ครั้งที่ 5 ในงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2553  ณ บริเวณถนนอุปราช หน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม  โดยพิธีเปิดดังกล่าว ได้มีการเปิดตัวศิลปินนานาชาติ ทั้ง 10 ประเทศ  ที่เดินทางมาร่วมแสดงฝีมือในการแกะสลักเทียน  ที่สนามในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี  เพื่อเสริมงานประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ให้มีความหลากหลาย น่าสนใจยิ่งขึ้น สมกับเป็นงานประเพณีระดับนานาชาติ  นอกจากเปิดตัวศิลปินนานาชาติแล้ว  ยังได้รับเกียรติจากช่างทำเทียนพรรษาของเมืองอุบลเข้าร่วมในพิธีเปิดด้วย   นอกจากนี้ในพิธีเปิดดังกล่าว  ยังได้มีการแสดงขบวนฟ้อนรำ และขบวนแห่เทียนพรรษาจำลอง เพื่อสื่อถึงความเป็นตำนานงานประเพณีแห่เทียนพรรษาของเมืองอุบลฯ ให้ผู้คนได้รับรู้ถึงความยิ่งใหญ่ในศรัทธาชาวอุบลฯ ที่มีต่อพุทธศาสนา   สำหรับงานแสดงประติมากรรมเทียนนานาชาติ ครั้งที่ 5 นั้น  ผู้สนใจสามารถเข้าชมศิลปะการแกะสลักเทียน ของศิลปินทั้ง 10 ชาติ ได้ตั้งแต่วันที่  28 มิถุนายน 2553 – 10 กรกฏาคม 2553  และเมื่อแกะสลักเสร็จแล้ว  ก็ยังตั้งโชว์ต่อไปจนถึง วันที่ 31 กรกฏาคม 2553  ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี
   การ"ท่องเที่ยว"แห่งประเทศไทย สำนักงานอุบลราชธานี (ททท.สอบ.)  จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทุกท่าน เข้าเยี่ยมชมและให้กำลังศิลปินจากทั่วโลกที่กำลังรังสรรค์แสดงฝีมือแกะสลักเทียนอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี   และยังสามารถเยี่ยมชมช่างทำเทียนพื้นบ้านของเมืองอุบลฯ กำลังขะมักเขม้นตกแต่งต้นเทียนอยู่ตามคุ้มวัดต่างๆ เกือบทุกคุ้มวัดในเมืองอุบลฯ  ก่อนที่จะนำมาจัดแสดง และแห่แหนไปถวายวัดในวันที่ 26-27 กรกฏาคม 2553  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่   ททท.สอบ.  โทรศัพท์ 0-4524-3770,0-4525-0714  (www.tatubon.org)

Thursday, June 24, 2010

3,000โบก ล่าสุด


สามพันโบก  ถือว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในลำน้ำโขงเท่าที่ทราบกันมา ซึ่งในบริเวณเดียวกัน  มีสถานที่ที่ชาวบ้านเรียกว่า  แกรนแคนยอนน้ำโขง  อันเกิดจากการกัดเซาะของน้ำหลายพันปี  เป็นร่องน้ำขนาดใหญ่ แก่งหินสามพันโบก เป็นกลุ่มหินทรายแนวเทือกเขาภูพานตอนปลายที่ทอดตัวยาวริมฝั่งโขงไทยและลาว  สายน้ำแคบและเป็นคุ้งน้ำ  ริมฝั่งโขงบริเวณนี้เป็นกลุ่มหินที่เรียงตัวทอดยาว เป็นสันดอนขนาดใหญ่พื้นที่กว่า 30 ตารางกิโลเมตร ผาหินบริเวณโค้งด้านหน้ารับแรงน้ำที่ไหลจากตอนบน  ก่อเกิดประติมากรรมธรรมชาติที่งดงาม จุดเด่นที่น่าสนใจคือ โบก อันเกิดจากกระแสน้ำได้พัดพาก้อนกรวด หิน  ทราย  และเศษไม้  กัดเซาะขัดแผ่นหินทรายให้เกิดเป็นหลุมแอ่ง  มีขนาดเล็กๆจนถึงขนาดใหญ่จำนวนมากมาย หินบางก้อนถูกกัดกร่อนคล้ายงานแกะสลักเป็นรูปสัตว์ รูปหัวใจ รูปมิกกี้เมาส์จากโบกจำนวนมากมาย  จนสถานที่แห่งนี้ถูกขนานนามว่า  สามพันโบก แก่งสามพันโบก เป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขงในช่วงฤดูน้ำหลาก  ประมาณเดือนกรกฏาคม – เดือนตุลาคม  และโผล่พ้นน้ำอวดความงามให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมได้  ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – มิถุนายน ทุกปี ล่าสุดไปมา 24 มิถุนายน 2553  เปิดตำนานสามพันโบก จากประติมากรรมหินทรายที่มีรูปร่างดงามแปลกตา ก่อเกิดตำนานเรื่องเล่าตำนานพญานาคชุดแม่น้ำโขง  ทุ่งหินเหลื่อม  หินหัวสุนัข  และปู่จกปู ตำนานหินหัวสุนัข   ทางเข้าของแกรนด์แคนยอนแม่น้ำโขง  มีหินสวยงามลักษณะคล้ายหัวสุนัข  ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันต่างๆ นานา  บ้างก็ว่า แต่ก่อนมีเจ้าเมืองเป็นผู้เรืองอำนาจประทับใจความงามของสามพันโบก  จึงได้ส่งเสนามาศึกษาเพิ่มเติม  เมื่อมาแล้วพบขุมทรัพย์เป็นทองคำ  จึงให้สุนัข เฝ้าทางเข้าจนกว่าเจ้าเมืองจะออกมา  เมื่อเจ้าเมืองได้เห็นสมบัติเกิดความโลภ  กลัวเสนาจะได้ส่วนแบ่งจึงได้ออกไปทางอื่น  สุนัขผู้ภักดีก็เฝ้ารออยู่ตรงนั้นจนตายในที่สุด  บางตำนานก็ว่าลูกพญานาคในลำน้ำโขงเป็นผู้ขุดเพื่อให้เกิดลำน้ำอีกสายหนึ่งและได้มอบหมายให้สุนัขเป็นผู้เฝ้าทางระหว่างการขุดจนกระทั่งสุนัขได้ตายลงกลายเป็นหินรูปสุนัขในที่สุด  ตำนานหาดหินสี  หรือทุ่งหินเหลื่อม  ทุ่งหินเหลื่อมอยู่ในพื้นที่บ้านคำจ้าว  ตำบลเหล่างาม  อำเภอโพธิ์ไทร  เป็นกลุ่มหินสีที่มีลักษณะแปลกตา  คือหินแต่ละก้อน  จะมีผิวเรียบเป็นมันประกอบด้วยสีเหลือง เขียว ม่วง น้ำเงิน  มีขนาดตั้งแต่ก้อนเล็กเท่ากำปั้นและก้อนใหญ่สุดมีขนาดใหญ่กว่า 3 เมตร  กระจายเป็นกลุ่ม 3 กลุ่มใหญ่  หินแต่ละก้อนถ้านำมาเรียงต่อกันจะเชื่อมกันได้สนิทคล้ายจิ๊กซอว์หินสี  จากตำนานชาวบ้านที่เล่าขานต่อกันว่ากลุ่มหินสีดังกล่าวคือทองคำพญานาค  ซึ่งเกิดจากการขุดสร้างแม่น้ำโขงของพญานาคตัวพ่อและตัวแม่ส่วนร่องน้ำเล็กที่คู่ขนานกับแม่น้ำโขงเป็นผลงานของลูกพญานาคที่ขุดเล่น จนเกือบทะลุกับแม่น้ำโขง ลูกพญานาคพบหินเหมือนทองคำ  จึงขุดขึ้นกองไว้เป็นบริเวณกว้างประมาณ 2 ไร่  ทุ่งหินเหลื่อม  ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาศึกษาอย่างเป็นทางการ จึงมีคำถามที่รอคำตอบมากมาย  ว่าหินกลุ่มนี้มากจากไหน หรือเกิดขึ้นอย่างไร และคำตอบจากนักท่องเที่ยวทุกคนคือ  ความมหัศจรรย์ของธรรมชาตินั่นเอง
 การเดินทางไปเที่ยวชมสามพันโบก อยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 120 กม. ตามทางหลวงอุบล - ตระการ - โพธิ์ไทร  ทำได้ 2 ทางคือ
 เดินทางท่องเที่ยวทางเรือ ไปยังแก่งสามพันโบก  นิยมนั่งเรือจากหาดสลึงที่บ้านปากกะกลาง  ต.สองคอน  ล่องตามลำน้ำโขงระยะทาง 4 กิโลเมตร  ระหว่างทางจะผ่าน “ปากบ้อง” จุดแคบที่สุดของแม่น้ำโขง  หาดสลึง หินหัวพะเนียง  เป็นแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย  หรือสองคอนในภาษาท้องถิ่น  จึงเป็นที่มาของชื่อบ้านสองคอนและสามพันโบก  ศิลาเลข  หาดหงส์ รายละเอียดเส้นทางเที่ยวทางเรือปากบ้อง  เป็นจุดชมวิวที่หมู่บ้านสองคอน  ตำบลสองคอน  อำเภอโพธิ์ไทร  จังหวัดอุบลราชธานี  เป็นจุดที่แม่น้ำโขงไหลพาดปะทะแนวเทือกเขาภูพานตอนปลาย การปะทะกันของพลังธรรมชาติอันยิ่งใหญ่  ก่อให้เกิดภูมิประเทศที่มหัศจรรย์มากมาย  ซึ่งจะสัมผัสได้ยามที่แม่น้ำโขงลดระดับลงได้ที่ในยามฤดูแล้งราวเดือนพฤศจิกายน -  มิถุนายน  ตลอดระยะทางที่ไหลผ่านประเทศไทย  ยาวกว่า 700 กิโลเมตร  เป็นจุดที่แม่น้ำโขง  แคบที่สุด  “ปากบ้อง” เป็นหน้าผาหินที่เกิดจากรอยแยกตัวของแผ่นหินทรายเปลือกโลก  ลักษณะเหมือนคอขวด  ส่วนที่แคบที่สุดวัดได้ 56 เมตร
 หินหัวพะเนียง  อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านสองคอน  ตำบลสองคอน  อำเภอโพธิ์ไทย จังหวัดอุบลราชธานี  ลักษณะทางภูมิศาสตร์  เป็น เกาะหินขนาดใหญ่กลางแม่น้ำโขงรูปร่างคล้ายอุปกรณ์ประกอบคันไถ  อยู่ถัดจากบริเวณปากบ้องขึ้นไปทางเหนือประมาณ 500 เมตร  เกาะหินใหญ่โผล่ขวางกลางลำน้ำโขง  หินหัวพะเนียง  มีรูปร่างคล้ายใบไถไม้ (ในภาษาถิ่น พะเนียงคือแท่นไม้ที่ใช้สวมใบไถเหล็ก)  ชาวบ้านจึงเรียกว่า  หินหัวพะเนียง  แต่ลักษณะหินในบริเวณนี้บางกลุ่มจะเป็นช่อแหลมคม  ซึ่งเกิดจากการปะทุขึ้นมาของหินทรายร้อนคล้ายหินภูเขาไฟ  แต่ไม่ใช่แมกมาหรือลาวา  เมื่อปะทุขึ้นมาปะทะกับกระแสน้ำเย็นจึงแข็งตัวกลายเป็นหินที่มีลักษณะเป็นช่อเรียกว่า “หินหัวพะเนียง” เป็นเกาะกลางแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย



Thursday, June 17, 2010

เที่ยวงานแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี


ชวนเที่ยวงานประเพณีแห่เทียนพรรษา และงานประติมากรรมเทียนนานาชาติ ณ จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 1 ก.ค. 2553 - 31 ก.ค. 2553
ภายในงาน ชมขบวนแห่เทียนพรรษาสวยงามกว่า 60 ขบวน การประกวดต้นเทียน (ประเภทแกะสลักและประเภทติดพิมพ์) การแข่งขันแกะสลักเทียนพรรษาระดับเยาวชน การแกะสลักเทียนและติดพิมพ์ บริเวณคุ้มต่าง ๆ งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีทางพุทธศาสนา ของชาวอุบลฯ ซึ่งมีความเจริญในพุทธศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีมาเป็นเวลายาวนาน ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้กำหนดจัดงานขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 และแรม 1 ค่ำเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา จัดให้มีขึ้นทุกปี จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ความว่า ชาวอุบลราชธานี ได้ทำต้นเทียนประกวดประชันความวิจิตรบรรจงกัน ตั้งแต่ พ.ศ.2470 จนเมื่อปี พ.ศ.2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร สถานที่จัดงานคือ บริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียน จะเคลื่อนขบวนจาก หน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม ไปตามถนน มาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง และการแสดงสมโภชต้นเทียน แลเป็นแสงไฟต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 เป็นต้นมา งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี มีชื่องานแต่ละปี
นอกจากนั้นยังมีการประกวดธิดาเทียนพรรษา การประกวดภาพถ่าย ความประทับใจในงานเทียน การแสดงแสงเสียง การแสดงทางวัฒนธรรม การแสดงและจัดจำหน่ายสินค้า หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การรวมศิลปินแห่งชาติและดารานักร้องดังที่เป็นชาวอุบลฯ การจัดทำของที่ระลึกเพื่อจัดจำหน่ายและกิจกรรมอื่นอีกมากมาย
คำขวัญของจังหวัดอุบลฯ  ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม  งามล้ำเทียนพรรษา ภูมิปัญญาชาวอุบลฯ

Friday, June 4, 2010

น้ำตกแสงจันทร์ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี

น้ำตกแสงจันทร์ หรือ น้ำตกรู เป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ที่อำเภอโขงเจียม ใช้ทางหลวงหมายเลข 2314 (โขงเจียม – ศรีเมืองใหม่) ตามทางหลวงหมายเลข 2112 ทางไป อ.เขมราฐ ระหว่างทาง ผ่าน อุทยานแห่งชาติผาแต้ม และน้ำตกสร้อยสวรรค์ ถึงก่อนน้ำตกทุ่งนาเมือง 1 ก.ม.  รถยนต์เข้าถึงได้บริเวณหน้าน้ำตก เป็นแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี และพิเศษคือ สายน้ำจากลำห้วยท่าล้ง จะตกลงปล่องหินลงสู่เบื้องล่าง ซี่งมองดูแล้ว คล้ายกับแสงจันทร์ที่เต็มดวงได้สาดส่องลงมา อีกทั้งเมื่อสายน้ำกระทบสู่ผืนน้ำเบื้องล่างยังจะกระจายตัวเป็นรูปหัวใจสีขาวน่าอัศจรรย์ บริเวณโดยรอบนั้น มีโขดหินน้อยใหญ่เรียงรายกันอยู่ และมีต้นไม้นานาพันธุ์ ซึ่งดูแล้วคล้ายกับสวนญี่ปุ่น บริเวณเบื้องล่างนั้นเป็นถ้ำ ซึ่งสามารถตั้งแคมป์ได้เป็นอย่างดี ฤดูที่ควรไปเที่ยวคือ ฤดูฝน ถึงย่างเข้าฤดูหนาว น้ำตกแสงจันทร์เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามและมีลักษณะพิเศษ คือ น้ำตก ตกลงผ่านปล่องหินสู่เบื้องล่าง มองดูคล้ายแสงจันทร์ซึ่งเต็มดวงสาดส่องมายังพื้นโลก บริเวณโดยรอบมีโขดหินน้อย ใหญ่เรียงรายกันอยู่ และมีต้นไม้นานาพรรณ นอกจากนี้ยังมีสถานที่น่าสนใจอื่น ๆ อีก ได้แก่ ผาเจ็ก ผาเมย ภูนาทาม ภูโลง สวนหิน ภูกระบอ ภูจ้อมค้อม น้ำตำห้วยพอก ฯลฯ ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์สวยงามเหมาะสำหรับการเดินทาง ท่องเที่ยวแบบทัวร์ป่า

Thursday, May 13, 2010

เที่ยวป่าดงนาทาม


ถึงแม้ในเมืองมีความวุ้นวายแต่ถ้าอยากหนีละก็"แหล่งท่องเที่ยวจ.อุบลราชธานี"มีที่ท่องเที่ยวมากมายเช่น ป่าดงนาทามอยู่ทางเหนือของอุทยาน แห่งชาติผาแต้ม ด้านตะวันออกสุดของคมขวานติดกับแม่น้ำโขง มีพื้นที่ประมาณ 88 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงสลับกับภูเขาหินทราย มีหน้าผาสูงชัน ริมแม่น้ำมีพลาญหิน หรือลานหิน เสาเฉลียง และแท่งหินรูปทรงแปลกตา กระจายอยู่ทั่วไป สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง แทรกด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าสนสองใบ ในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะมีดอกไม้บานสะพรั่งเต็มลานหินแหล่งท่องเที่ยวมีความงดงามแบบธรรมชาติ
ธรรมชาติแห่งผืนป่าดงนาทาม
ป่าดงนาทามเหมาะแก่การเดินป่าศึกษา ธรรมชาติ เพราะนอกจากความหลากหลายของพืชพรรณและไม้ดอกสวยงามแปลกตาหลายชนิดแล้ว ยังมีน้ำตกขนาดเล็กและขนาดกลาง มีน้ำมากในช่วงเดือนกันยายน - ธันวาคม ได้แก่ น้ำตกกิ๊ด น้ำตกชะปัน น้ำตกห้วยพอก น้ำตกกวงโตน น้ำตกซ้อย และน้ำตกทุ่งนาเมือง หน้าผาริมโขงมีหลายแห่ง เช่น ผาชะนะได ผากำปั่น ผาหินแตก ผาจ้อมก้อม ผาแดง ผาหินฝน และผายะพืด เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์แม่น้ำโขง ทะเลหมอกที่งดงามยามเช้า ชมพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครที่ผาชะนะได จุดแรกที่เริ่มนับเวลาการมาเยือนแผ่นดินไทยของพระอาทิตย์ในแต่ละวัน เสาเฉลียงและหินรูปร่างแปลกตา ได้แก่ หินเต่าชมจันทร์ เสาเฉลียงคู่ เสาเฉลียงภูจ้อมก้อม ลานหิน และดอกไม้ดิน บริเวณวัดภูอานนท์ ถ้ำไฮ ภูโลง ผายะพืด ถ้ำ ได้แก่ ถ้ำปาฏิหาริย์ ถ้ำฝ่ามือแดงบ้านปากลา ภาพเขียนสีที่โหง่นแต้ม ผาวัดภูอานนท์ และถ้ำฝ่ามือแดง
เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ประกอบด้วย 2 เส้นทาง คือจากจุดเริ่มต้นที่วัดถ้ำปาฏิหาริย์ และจากหน่วยพิทักษ์ป่าที่ 4 บ้านทุ่งนาเมือง ทั้ง 2 เส้นทางนี้จะไปบรรจบกันที่น้ำตกห้วยพอก ซึ่งเป็นจุดที่เหมาะในการพักแรมกางเต็นท์ เพราะมีลานหินกว้างและอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ระยะเวลาที่เหมาะในการเดินป่าดงนาทามประมาณ 2 วัน 1 คืน ถ้าท่านใดไม่อยากพักเต็นก็มีที่พักราคาประหยัดให้บริการ

Monday, May 10, 2010

ภูหินด่าง

เป็นภูเขาหินทรายที่ประกอบไปด้วยป่าลาน หินที่มีลักษณะทางธรณีวิทยาที่สวยงามแปลกตาแตกต่างจากที่อื่น ได้แก่ ลานหินงอก ลานหินเป็นระแหง แอ่งหินเว้า และร่องหินแยก ตามเส้นทางเดินป่าไปสู่ยอดภูเต็มไปด้วยต้นกล้วยไม้ป่านานาชนิดและดอกไม้หลากสีที่ขึ้นอยู่ตามลานหิน แตกต่างกันตามฤดูกาลจากจุดชมวิวบริเวณหน้าผา สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้ารวมทั้งทะเลหมอกในฤดูหนาว ชมทัศนียภาพที่สวยงามแปลกตาของพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และสภาพป่าในเขตประเทศลาวและกัมพูชาที่อยู่เบื้องล่าง ที่ผนังหินใต้เพิงผาปรากฏแทบสีแดงและสีชมพูอยู่หลายแห่งซึ่งเป็นที่มาของ ชื่อ“ภูหินด่าง” ภูหินด่างแห่งนี้ เหมาะสำหรับการกางเต็นท์พักแรม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 51 กิโลเมตร โดยการเดินทางเข้าภูหินด่างต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง   การเดินทางสู่ภูหินด่าง ใช้ทางหลวง จังหวัดหมายเลข 2248 จากอำเภอนาจะหลวยถึงบ้านห้วยข่า เลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2254 ถึงบ้านหนองเม็ก มีทางลูกรังแยกไปทางซ้าย เมื่อถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภจ. 5 (พลาญมดง่าม) ต้องขึ้นเขาชั้นอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ก็จะถึงภูหินด่างเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานีที่มีความสวยงามอีกที่หนึ่ง มีความสวยงามแบบธรรมชาติ