Thursday, May 13, 2010

เที่ยวป่าดงนาทาม


ถึงแม้ในเมืองมีความวุ้นวายแต่ถ้าอยากหนีละก็"แหล่งท่องเที่ยวจ.อุบลราชธานี"มีที่ท่องเที่ยวมากมายเช่น ป่าดงนาทามอยู่ทางเหนือของอุทยาน แห่งชาติผาแต้ม ด้านตะวันออกสุดของคมขวานติดกับแม่น้ำโขง มีพื้นที่ประมาณ 88 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงสลับกับภูเขาหินทราย มีหน้าผาสูงชัน ริมแม่น้ำมีพลาญหิน หรือลานหิน เสาเฉลียง และแท่งหินรูปทรงแปลกตา กระจายอยู่ทั่วไป สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง แทรกด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าสนสองใบ ในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะมีดอกไม้บานสะพรั่งเต็มลานหินแหล่งท่องเที่ยวมีความงดงามแบบธรรมชาติ
ธรรมชาติแห่งผืนป่าดงนาทาม
ป่าดงนาทามเหมาะแก่การเดินป่าศึกษา ธรรมชาติ เพราะนอกจากความหลากหลายของพืชพรรณและไม้ดอกสวยงามแปลกตาหลายชนิดแล้ว ยังมีน้ำตกขนาดเล็กและขนาดกลาง มีน้ำมากในช่วงเดือนกันยายน - ธันวาคม ได้แก่ น้ำตกกิ๊ด น้ำตกชะปัน น้ำตกห้วยพอก น้ำตกกวงโตน น้ำตกซ้อย และน้ำตกทุ่งนาเมือง หน้าผาริมโขงมีหลายแห่ง เช่น ผาชะนะได ผากำปั่น ผาหินแตก ผาจ้อมก้อม ผาแดง ผาหินฝน และผายะพืด เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์แม่น้ำโขง ทะเลหมอกที่งดงามยามเช้า ชมพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครที่ผาชะนะได จุดแรกที่เริ่มนับเวลาการมาเยือนแผ่นดินไทยของพระอาทิตย์ในแต่ละวัน เสาเฉลียงและหินรูปร่างแปลกตา ได้แก่ หินเต่าชมจันทร์ เสาเฉลียงคู่ เสาเฉลียงภูจ้อมก้อม ลานหิน และดอกไม้ดิน บริเวณวัดภูอานนท์ ถ้ำไฮ ภูโลง ผายะพืด ถ้ำ ได้แก่ ถ้ำปาฏิหาริย์ ถ้ำฝ่ามือแดงบ้านปากลา ภาพเขียนสีที่โหง่นแต้ม ผาวัดภูอานนท์ และถ้ำฝ่ามือแดง
เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ประกอบด้วย 2 เส้นทาง คือจากจุดเริ่มต้นที่วัดถ้ำปาฏิหาริย์ และจากหน่วยพิทักษ์ป่าที่ 4 บ้านทุ่งนาเมือง ทั้ง 2 เส้นทางนี้จะไปบรรจบกันที่น้ำตกห้วยพอก ซึ่งเป็นจุดที่เหมาะในการพักแรมกางเต็นท์ เพราะมีลานหินกว้างและอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ระยะเวลาที่เหมาะในการเดินป่าดงนาทามประมาณ 2 วัน 1 คืน ถ้าท่านใดไม่อยากพักเต็นก็มีที่พักราคาประหยัดให้บริการ

Monday, May 10, 2010

ภูหินด่าง

เป็นภูเขาหินทรายที่ประกอบไปด้วยป่าลาน หินที่มีลักษณะทางธรณีวิทยาที่สวยงามแปลกตาแตกต่างจากที่อื่น ได้แก่ ลานหินงอก ลานหินเป็นระแหง แอ่งหินเว้า และร่องหินแยก ตามเส้นทางเดินป่าไปสู่ยอดภูเต็มไปด้วยต้นกล้วยไม้ป่านานาชนิดและดอกไม้หลากสีที่ขึ้นอยู่ตามลานหิน แตกต่างกันตามฤดูกาลจากจุดชมวิวบริเวณหน้าผา สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้ารวมทั้งทะเลหมอกในฤดูหนาว ชมทัศนียภาพที่สวยงามแปลกตาของพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และสภาพป่าในเขตประเทศลาวและกัมพูชาที่อยู่เบื้องล่าง ที่ผนังหินใต้เพิงผาปรากฏแทบสีแดงและสีชมพูอยู่หลายแห่งซึ่งเป็นที่มาของ ชื่อ“ภูหินด่าง” ภูหินด่างแห่งนี้ เหมาะสำหรับการกางเต็นท์พักแรม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 51 กิโลเมตร โดยการเดินทางเข้าภูหินด่างต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง   การเดินทางสู่ภูหินด่าง ใช้ทางหลวง จังหวัดหมายเลข 2248 จากอำเภอนาจะหลวยถึงบ้านห้วยข่า เลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2254 ถึงบ้านหนองเม็ก มีทางลูกรังแยกไปทางซ้าย เมื่อถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภจ. 5 (พลาญมดง่าม) ต้องขึ้นเขาชั้นอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ก็จะถึงภูหินด่างเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานีที่มีความสวยงามอีกที่หนึ่ง มีความสวยงามแบบธรรมชาติ

Sunday, May 2, 2010

อุทยานแห่งชาติภูจอง - นายอย

 อุทยานแห่งชาติ ภูจอง-นายอย เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2530 มีที่ทำการตั้งอยู่ที่หมู่บ้านแก้งเรือง ตำบลนาจะหลวย อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลาชธานี มีพื้นที่รับผิดชอบ 428,750 ไร่ ของตำบลห้วยข่า อำเภอบุณฑริก ตำบลนาจะหลวย อำเภอนาจะหลวย และตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืนเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจ.อุบลฯที่มีความงดงามตามธรรมชาติอีกที่หนึ่ง
            ภายในอุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย นี้นอกจากยังคงสภาพป่าทึบและมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่แล้ว ยังมีน้ำตกที่สำคัญอักแห่งหนึ่งคือ น้ำตกห้วยหลวง หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "น้ำตกถ้ำบักเตว" ซึ่งไม่ไกลจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติเท่าใดนัก เป็นน้ำตกที่มีความสูงประมาณ 30 เมตรไหลลงมาจากหน้าผาชัน ท่ามกลาง บรรยกาศที่ร่มรื่น เหมาะแก่การไปเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ และสามารถลงสัมผัสกับกระแสน้ำที่ตกลงมาจากเบื้องบนได้อีกด้วย จากสภาพภูมิประเทศที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนกันหลายลูกดังกล่าว ก่อให้เกิดลำห้วยลำธารหลายสาย เช่น ห้วยบอน ห้วยวังใหญ่ ห้วยพระเจ้า ห้วยยาง ห้วยไห ห้วยเดื่อ ห้วยดินดำ ห้วยบุญ ห้วยค้อ ฯลฯ ซึ่งไหลลงไปรวมกันที่ลำโดมใหญ่ และยังพบว่าบริเวณพื้นที่ริมลำห้วยหลายสาย มีแหล่งดินโป่ง ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า โป่งใหญ่ที่สำคัญ ได้แก่ โป่งห้วยดินดำ และโป่งแดงสภาพป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม ยังมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์อยู่มาก มีชนิดป่าอยู่หลากหลายชนิด ทำให้มีความเหมาะสมที่จะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า