สามพันโบก ถือว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในลำน้ำโขงเท่าที่ทราบกันมา ซึ่งในบริเวณเดียวกัน มีสถานที่ที่ชาวบ้านเรียกว่า แกรนแคนยอนน้ำโขง อันเกิดจากการกัดเซาะของน้ำหลายพันปี เป็นร่องน้ำขนาดใหญ่ แก่งหินสามพันโบก เป็นกลุ่มหินทรายแนวเทือกเขาภูพานตอนปลายที่ทอดตัวยาวริมฝั่งโขงไทยและลาว สายน้ำแคบและเป็นคุ้งน้ำ ริมฝั่งโขงบริเวณนี้เป็นกลุ่มหินที่เรียงตัวทอดยาว เป็นสันดอนขนาดใหญ่พื้นที่กว่า 30 ตารางกิโลเมตร ผาหินบริเวณโค้งด้านหน้ารับแรงน้ำที่ไหลจากตอนบน ก่อเกิดประติมากรรมธรรมชาติที่งดงาม จุดเด่นที่น่าสนใจคือ โบก อันเกิดจากกระแสน้ำได้พัดพาก้อนกรวด หิน ทราย และเศษไม้ กัดเซาะขัดแผ่นหินทรายให้เกิดเป็นหลุมแอ่ง มีขนาดเล็กๆจนถึงขนาดใหญ่จำนวนมากมาย หินบางก้อนถูกกัดกร่อนคล้ายงานแกะสลักเป็นรูปสัตว์ รูปหัวใจ รูปมิกกี้เมาส์จากโบกจำนวนมากมาย จนสถานที่แห่งนี้ถูกขนานนามว่า สามพันโบก แก่งสามพันโบก เป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขงในช่วงฤดูน้ำหลาก ประมาณเดือนกรกฏาคม – เดือนตุลาคม และโผล่พ้นน้ำอวดความงามให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมได้ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – มิถุนายน ทุกปี ล่าสุดไปมา 24 มิถุนายน 2553 เปิดตำนานสามพันโบก จากประติมากรรมหินทรายที่มีรูปร่างดงามแปลกตา ก่อเกิดตำนานเรื่องเล่าตำนานพญานาคชุดแม่น้ำโขง ทุ่งหินเหลื่อม หินหัวสุนัข และปู่จกปู ตำนานหินหัวสุนัข ทางเข้าของแกรนด์แคนยอนแม่น้ำโขง มีหินสวยงามลักษณะคล้ายหัวสุนัข ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันต่างๆ นานา บ้างก็ว่า แต่ก่อนมีเจ้าเมืองเป็นผู้เรืองอำนาจประทับใจความงามของสามพันโบก จึงได้ส่งเสนามาศึกษาเพิ่มเติม เมื่อมาแล้วพบขุมทรัพย์เป็นทองคำ จึงให้สุนัข เฝ้าทางเข้าจนกว่าเจ้าเมืองจะออกมา เมื่อเจ้าเมืองได้เห็นสมบัติเกิดความโลภ กลัวเสนาจะได้ส่วนแบ่งจึงได้ออกไปทางอื่น สุนัขผู้ภักดีก็เฝ้ารออยู่ตรงนั้นจนตายในที่สุด บางตำนานก็ว่าลูกพญานาคในลำน้ำโขงเป็นผู้ขุดเพื่อให้เกิดลำน้ำอีกสายหนึ่งและได้มอบหมายให้สุนัขเป็นผู้เฝ้าทางระหว่างการขุดจนกระทั่งสุนัขได้ตายลงกลายเป็นหินรูปสุนัขในที่สุด ตำนานหาดหินสี หรือทุ่งหินเหลื่อม ทุ่งหินเหลื่อมอยู่ในพื้นที่บ้านคำจ้าว ตำบลเหล่างาม อำเภอโพธิ์ไทร เป็นกลุ่มหินสีที่มีลักษณะแปลกตา คือหินแต่ละก้อน จะมีผิวเรียบเป็นมันประกอบด้วยสีเหลือง เขียว ม่วง น้ำเงิน มีขนาดตั้งแต่ก้อนเล็กเท่ากำปั้นและก้อนใหญ่สุดมีขนาดใหญ่กว่า 3 เมตร กระจายเป็นกลุ่ม 3 กลุ่มใหญ่ หินแต่ละก้อนถ้านำมาเรียงต่อกันจะเชื่อมกันได้สนิทคล้ายจิ๊กซอว์หินสี จากตำนานชาวบ้านที่เล่าขานต่อกันว่ากลุ่มหินสีดังกล่าวคือทองคำพญานาค ซึ่งเกิดจากการขุดสร้างแม่น้ำโขงของพญานาคตัวพ่อและตัวแม่ส่วนร่องน้ำเล็กที่คู่ขนานกับแม่น้ำโขงเป็นผลงานของลูกพญานาคที่ขุดเล่น จนเกือบทะลุกับแม่น้ำโขง ลูกพญานาคพบหินเหมือนทองคำ จึงขุดขึ้นกองไว้เป็นบริเวณกว้างประมาณ 2 ไร่ ทุ่งหินเหลื่อม ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาศึกษาอย่างเป็นทางการ จึงมีคำถามที่รอคำตอบมากมาย ว่าหินกลุ่มนี้มากจากไหน หรือเกิดขึ้นอย่างไร และคำตอบจากนักท่องเที่ยวทุกคนคือ ความมหัศจรรย์ของธรรมชาตินั่นเอง
การเดินทางไปเที่ยวชมสามพันโบก อยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 120 กม. ตามทางหลวงอุบล - ตระการ - โพธิ์ไทร ทำได้ 2 ทางคือ
เดินทางท่องเที่ยวทางเรือ ไปยังแก่งสามพันโบก นิยมนั่งเรือจากหาดสลึงที่บ้านปากกะกลาง ต.สองคอน ล่องตามลำน้ำโขงระยะทาง 4 กิโลเมตร ระหว่างทางจะผ่าน “ปากบ้อง” จุดแคบที่สุดของแม่น้ำโขง หาดสลึง หินหัวพะเนียง เป็นแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย หรือสองคอนในภาษาท้องถิ่น จึงเป็นที่มาของชื่อบ้านสองคอนและสามพันโบก ศิลาเลข หาดหงส์ รายละเอียดเส้นทางเที่ยวทางเรือปากบ้อง เป็นจุดชมวิวที่หมู่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจุดที่แม่น้ำโขงไหลพาดปะทะแนวเทือกเขาภูพานตอนปลาย การปะทะกันของพลังธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ก่อให้เกิดภูมิประเทศที่มหัศจรรย์มากมาย ซึ่งจะสัมผัสได้ยามที่แม่น้ำโขงลดระดับลงได้ที่ในยามฤดูแล้งราวเดือนพฤศจิกายน - มิถุนายน ตลอดระยะทางที่ไหลผ่านประเทศไทย ยาวกว่า 700 กิโลเมตร เป็นจุดที่แม่น้ำโขง แคบที่สุด “ปากบ้อง” เป็นหน้าผาหินที่เกิดจากรอยแยกตัวของแผ่นหินทรายเปลือกโลก ลักษณะเหมือนคอขวด ส่วนที่แคบที่สุดวัดได้ 56 เมตร
หินหัวพะเนียง อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทย จังหวัดอุบลราชธานี ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็น เกาะหินขนาดใหญ่กลางแม่น้ำโขงรูปร่างคล้ายอุปกรณ์ประกอบคันไถ อยู่ถัดจากบริเวณปากบ้องขึ้นไปทางเหนือประมาณ 500 เมตร เกาะหินใหญ่โผล่ขวางกลางลำน้ำโขง หินหัวพะเนียง มีรูปร่างคล้ายใบไถไม้ (ในภาษาถิ่น พะเนียงคือแท่นไม้ที่ใช้สวมใบไถเหล็ก) ชาวบ้านจึงเรียกว่า หินหัวพะเนียง แต่ลักษณะหินในบริเวณนี้บางกลุ่มจะเป็นช่อแหลมคม ซึ่งเกิดจากการปะทุขึ้นมาของหินทรายร้อนคล้ายหินภูเขาไฟ แต่ไม่ใช่แมกมาหรือลาวา เมื่อปะทุขึ้นมาปะทะกับกระแสน้ำเย็นจึงแข็งตัวกลายเป็นหินที่มีลักษณะเป็นช่อเรียกว่า “หินหัวพะเนียง” เป็นเกาะกลางแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย